ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ งานวิจัย operation Bim
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletนักวิทยาศาสตร์ BIM100
bulletวัฒนชีวา MyLife100
bulletศูนย์วิจัย และพัฒนามังคุดไทย
bulletประโยชน์ของน้ำมังคุด
bulletความร่วมมือของนักวิจัย BIM100
bulletการเพิ่มคุณภาพชีวิตของ "ผู้ป่วยมะเร็ง"
bulletสัมภาษณ์ผู้ทาน BIM100
bulletบทสัมภาษณ์นักวิจัย รศ. ดร. ภญ. อำไพ ปั้นทอง
bulletพลังแห่งภูมิสมดุล
bulletภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Aids)
bulletผลของ Bim100 ต่อ มะเร็ง
bulletเบาหวาน
bulletข้อเข่าเสื่อม/ปวดเข่า
bulletกรดไหลย้อน
bulletโรคกระเพาะอาหาร
bulletวุ้นตาเสื่อม
bulletโรคสะเก็ดเงิน/เรื้อนกวาง
bulletSLE / แพ้ภูมิตัวเอง
bulletผื่นแพ้คันที่ผิวหนัง
bulletซีส เนื้องอก
bulletริดสีดวงทวาร
bulletไมเกรน / ปวดหัว
bulletภูมิแพ้
bulletหอบหืด / ไซนัส
bulletรูมาตอยด์
bulletเก๊าท์
bulletไฮเปอร์ไทรอยด์ (เป็นพิษ)
bulletไฮโปไทรอยด์
bulletน้ำในหูไม่เท่ากัน / บ้านหมุน
bulletปัญหาอื่น ๆ


ซีสต์ เนื้องอก

ซีส เนื้องอก

สาเหตุของการเกิดช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst)

ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) หรือ ถุงน้ำช็อกโกแลต ในทางการแพทย์เรียกว่า "เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตผิดที่" (Endometriosis) เกิดจากเลือดประจำเดือนที่ปกติต้องไหลออกมาทางช่องคลอด แต่กลับไหลย้อนกลับเข้าไปในช่องท้องผ่านท่อรังไข่ และนำเซลล์ของเยื่อบุโพรงมดลูกเข้าไปด้วย เมื่อเซลล์นี้ไปฝังตัวอยู่ที่อวัยวะไหนก็จะเกิดถุงน้ำขึ้นที่อวัยวะนั้น เช่น อุ้งเชิงกราน ท่อรังไข่ ลำไส้ ช่องคลอด มดลูก ฯลฯ 

บริเวณที่พบช็อกโกแล็ตซีสต์ได้บ่อยคือรังไข่ เนื่องจากบริเวณรังไข่เป็นบริเวณที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนสูง จึงเหมาะแก่การเจริญเติบโต แต่ถ้าเยื่อบุโพรงมดลูกแทรกเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูกจะไม่กลายเป็นซีสต์ ทว่าจะกลายเป็นพังผืดหรือก้อนในกล้ามเนื้อมดลูกแทน เพราะกล้ามเนื้อมดลูกค่อนข้างแข็ง และเราเรียกภาวะนี้ว่า "Adenomyosis" ซึ่งผลที่ตามมาคือภาวะปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง ประจำเดือนมามาก และมีบุตรยาก 

ทั้งนี้ เมื่อเวลาที่ผู้หญิงมีประจำเดือน เยื่อบุโพรงมดลูกจะลอกตัวออกมา ถุงน้ำที่ฝังตัวอยู่ก็จะมีเลือดออกด้วย แต่เมื่อเลือดประจำเดือนออกหมดแล้วในเดือนนั้น ร่างกายก็จะดูดน้ำจากถุงกลับมา ทำให้เลือดในถุงเข้มข้นขึ้น หากเลือดค้างอยู่ในถุงน้ำนาน ๆ จะกลายเป็นสีน้ำตาล มีลักษณะเหมือนช็อกโกแลต จึงเรียกว่า "ถุงน้ำช็อกโกแลต" หรือ "ช็อกโกแลตซีสต์" นั่นเอง 

นั่นหมายความว่า แต่ละเดือนที่ผ่านไป ถุงน้ำก็จะยิ่งมีเลือดออกเพิ่มขึ้น และขยายใหญ่ขึ้น แต่จะใหญ่เร็วมากน้อยแค่ไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของคนคนนั้นว่า จะดูดน้ำกลับได้เร็วเท่าไหร่ ถ้าร่างกายดูดน้ำกลับได้เร็ว ถุงน้ำนั้นก็จะโตขึ้นแบบช้า ๆ 

คนที่เป็นโรคช็อกโกแลตซีสต์จะมีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังเมื่อมีประจำเดือน และจะปวดมากขึ้นทุก ๆ เดือน โดยจะปวดด้านหน้า ตั้งแต่สะดือไปถึงอุ้งเชิงกราน ส่วนด้านหลังตั้งแต่บั้นเอวไปถึงก้นกบ อาจปวดจนเป็นลม มีอาการลำไส้แปรปรวน ท้องอืด ท้องเสีย ปวดมากเวลาขับถ่าย ปวดเสียดในท้อง ปวดหลัง ปวดร้าวลงขา ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะบ่อย รวมทั้งมีอาการเจ็บปวดเมื่อมีเพศสัมพันธ์ 

นอกจากนี้ ผู้ที่เป็นช็อกโกแลตซีสต์จะมีบุตรยาก เพราะท่อนำไข่ตีบตัน สาเหตุมาจากมีพังผืดรั้งอยู่ ทำให้ท่อนำไข่ไม่สามารถทำงานได้ หากปรารถนาจะมีบุตรต้องรักษาช็อกโกแลตซีสต์ให้หายเสียก่อน

ผู้ที่สามารถเป็นช็อกโกแลตซีสต์ได้ คือ ผู้หญิงที่อยู่ในวัยมีประจำเดือน ส่วนผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว พบได้ไม่เกิน 5% แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีคนอีกหลายกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นโรคช็อกโกแลตซีสต์มากกว่าคนกลุ่มอื่น คือ 

  • ผู้ที่มีประจำเดือนมาตั้งแต่อายุน้อย 
  • ผู้ที่มีประจำเดือนรอบสั้น คือ มีมากกว่าเดือนละ 2 ครั้ง 
  • ผู้ที่ประจำเดือนออกมามาก หรือนานกว่า 7 วัน 
  • ผู้ที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะทางมารดา พี่สาว น้องสาว หากเคยเป็นโรคนี้ จะมีเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป 3-10 เท่า
  • ผู้ที่มีความผิดปกติของทางออกประจำเดือน เช่น ผู้ป่วยที่มีปัญหาเยื่อพรหมจารีเปิด

 หลายคนไม่สามารถแยกแยะออกว่า การปวดท้องนั้นเป็นการปวดท้องประจำเดือนปกติ หรือปวดเพราะเป็นช็อกโกแลตซีสต์ แต่เราสามารถแยกได้โดยโรคนี้มักพบมากในผู้หญิงที่มีอายุ 30-40 ปีขึ้นไป หรือวัยก่อนหมดประจำเดือน หากปกติไม่เคยปวดท้องประจำเดือนมาก่อน แต่พออายุ 30 ปีขึ้นไปแล้วกลับมีอาการปวดท้องมากขึ้นเรื่อย ๆ และปวดมากขึ้นทุกเดือน ถึงขนาดต้องหยุดเรียน หยุดงาน ให้สงสัยว่า คุณอาจเป็นช็อกโกแลตซีสต์ ควรจะไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูให้แน่ใจ

หากใครพบว่าตัวเองเป็นช็อกโกแลตซีสต์ก็อย่าเพิ่งตกอกตกใจไป เพราะโรคนี้ไม่ได้ร้ายแรงจนเกินเยียวยา มีหลายวิธีในการรักษาโรคนี้ ได้แก่

  1. การใช้ยา หากถุงน้ำที่พบเป็นถุงน้ำขนาดเล็ก แพทย์จะให้ยารักษา โดยอาจจะให้ทานยา หรือฉีดยาเพื่อลดขนาดซีสต์ ซึ่งยาที่ใช้ก็มีทั้งกลุ่มที่มีฮอร์โมน และไม่มีฮอร์โมน อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงของการใช้ยาก็คือ อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  2. การผ่าตัด ในกรณีที่ใช้ยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือถุงน้ำใหญ่มากจนเกิดอาการปวดรุนแรง หรือไปกดอวัยวะข้างเคียง ส่งผลไปถึงส่วนอื่น ๆ แพทย์จะพิจารณาใช้วิธีผ่าตัดเพื่อรักษาต่อไป โดยการผ่าตัดอาจตัดเฉพาะตำแหน่งของโรค หรือสลายพังผืดออก ด้วยวิธีการผ่าตัดส่องกล้องผ่านทางหน้าท้อง

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เคยเป็นช็อกโกแลตซีสต์ และผ่าตัดออกไปแล้ว ยังมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ กรณีที่ผ่าตัดเอาแต่พยาธิสภาพออก แต่ยังเก็บตัวมดลูกและรังไข่ไว้

BIM100 / เนื้องอกในมดลูก ช๊อกโกแลตซีส BIM100 / เนื้องอกในมดลูก ช๊อกโกแลตซีส
BIM100 / เนื้องอกในมดลูก ช๊อกโกแลตซีส BIM100 / เนื้องอกในมดลูก ช๊อกโกแลตซีส
BIM100 / เนื้องอกในมดลูก ช๊อกโกแลตซีส BIM100 / เนื้องอกในมดลูก ช๊อกโกแลตซีส




รีวิวจากผู้ใช้ Bim100

ข้อมูลของปัญหาสุขภาพ และประสบการณ์จากผู้ใช้ Bim100
โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Aids)
การเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง
เบาหวาน
ข้อเข่าเสื่อม/ปวดเข่า
กรดไหลย้อน
โรคกระเพาะอาหาร
โรคสะเก็ดเงิน/เรื้อนกวาง
SLE / แพ้ภูมิตัวเอง
ผื่นแพ้คันที่ผิวหนัง
ริดสีดวงทวาร
ไมเกรน / ปวดหัว
ภูมิแพ้
หอบหืด / ไซนัส
รูมาตอยด์
เก๊าท์
ไฮเปอร์ไทรอยด์ (เป็นพิษ)
ไฮโปไทรอยด์
น้ำในหูไม่เท่ากัน / บ้านหมุน
บทสัมภาษณ์นักวิจัย รศ. ดร. ภญ. อำไพ ปั้นทอง
ปัญหาอื่น ๆ



Copyright © 2014 All Rights Reserved.



ติดต่อสอบถาม/ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โทร. 064-495-6642 Line id : @bim555 (ใส่ @ ข้างหน้าด้วยค่ะ)