ผลงาน ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา
ReadyPlanet.com
dot dot
dot
dot
bulletนักวิทยาศาสตร์ BIM100
bulletวัฒนชีวา MyLife100
bulletศูนย์วิจัย และพัฒนามังคุดไทย
bulletประโยชน์ของน้ำมังคุด
bulletความร่วมมือของนักวิจัย BIM100
bulletการเพิ่มคุณภาพชีวิตของ "ผู้ป่วยมะเร็ง"
bulletสัมภาษณ์ผู้ทาน BIM100
bulletบทสัมภาษณ์นักวิจัย รศ. ดร. ภญ. อำไพ ปั้นทอง
bulletพลังแห่งภูมิสมดุล
bulletภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Aids)
bulletผลของ Bim100 ต่อ มะเร็ง
bulletเบาหวาน
bulletข้อเข่าเสื่อม/ปวดเข่า
bulletกรดไหลย้อน
bulletโรคกระเพาะอาหาร
bulletวุ้นตาเสื่อม
bulletโรคสะเก็ดเงิน/เรื้อนกวาง
bulletSLE / แพ้ภูมิตัวเอง
bulletผื่นแพ้คันที่ผิวหนัง
bulletซีส เนื้องอก
bulletริดสีดวงทวาร
bulletไมเกรน / ปวดหัว
bulletภูมิแพ้
bulletหอบหืด / ไซนัส
bulletรูมาตอยด์
bulletเก๊าท์
bulletไฮเปอร์ไทรอยด์ (เป็นพิษ)
bulletไฮโปไทรอยด์
bulletน้ำในหูไม่เท่ากัน / บ้านหมุน
bulletปัญหาอื่น ๆ
dot
dot



คำกล่าวจาก ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา
เกี่ยวกับการเริ่มต้นทำธุรกิจ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร BIM100

"ธุรกิจที่ผมทำอยู่มีหลายคนมองว่าเป็นธุรกิจสีขาว คือเราชัดเจนตรงไปตรงมา ถูกต้อง ไม่คดโกง ไม่ผิดศีลธรรม ธุรกิจแบบนี้บางคนเห็นว่าเป็นไปได้ยากในสังคมปัจจุบัน ที่เต็มไปด้วยเสือสิงกระทิงแรด ถ้าทำแบบนี้เขากลัวว่าจะอยู่ไม่รอด จะเจอกับความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ

แต่สำหรับผม ผมคิดว่าง่าย เพราะมันเป็นธรรมชาติของผม ผมทำแล้วสบายใจ ถ้าจะไปทำบริษัทแบบที่ฮือๆ ฮาๆ เลี้ยวไปเลี้ยวมา สำหรับผมมันทำยากสุด ๆ มันไม่ใช่ตัวเรา ทำไปทำไม? จะโลภไปทำไม? ความสบายใจมันอยู่ตรงไหน? ทำอย่างนั้นอาจรวยเร็ว แต่ผมคิดว่ามันไม่ใช่ตัวเรา ขณะนี้ผมทำธุรกิจด้วยความสบายใจเป็นหลัก ทำแล้วต้องสบายใจ

ธุรกิจสีขาวมันอยู่ได้ อยู่ได้จริง ๆ ในสังคมนี้ และเราต้องทำให้เห็นว่ามันอยู่ได้ด้วย ยิ่งวันที่นายกฯอภิสิทธิ์เป็ดโครงการ "ฉันรักประเทศไทย" สำหรับผมใช่เลย ที่แหละคือสิ่งที่ผมจะปลูกฝังสมาชิกของเราให้มีความภาคภูมิใจ เพราะคนที่ขายไดเร็กเซลส่วนใหญ่หลายคนมักจะอาย เขาไม่มีความภาคภูมิใจในการงานของเขา ดังนั้นเราต้องทำให้เขาภาคภูมิใจจากการทำงานกับบริษัทเครือข่ายธุรกิจสีขาว ให้เขากล้าพูดว่า เขาอยู่ในบริษัทเครือข่ายสีขาว สามารถพูดออกไปได้เต็มปากเต็มคำว่า "ฉันรับประเทศไทย" แนะนำผลิตภัณฑ์ให้คนไทยได้ใช้แล้วมีสุขภาพดีขึ้นมีความงามมากขึ้น พร้อมจะช่วยพัฒนาประเทศด้วยการเสียภาษีรายได้ที่เกิดขึ้น

สิ่งที่ผมพยายามปลูกฝังกับคนในบริษัท ถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควร ปรากฏว่าเสื้อ "ฉันรักประเทศไทย" ที่เราทำ ปัจจุบันนี้เดินไปที่ไหนคนพูดทั้งนั้นว่าเสื้อนี้สวย เราขายเลย ให้เห็นว่าฉันเป็นธุรกิจเครือข่ายสีขาวฉันรักประเทศไทย ฉันใช้ผลงานจากการวิจัยเพื่อให้คนไทยมีภูมิคุ้มกันที่สมดุลด้วย Operation BIM

 ผมคิดว่าการทำธุรกิจสีขาวมันอาจจะไปช้า แต่ในที่สุดมันต้องประสบผลสำเร็จ ผมเชื่อย่างนั้น ผมว่าโดยพื้นฐานทุกคนอยากจะทำธุรกิจสีขาวกันทั้งนั้น แล้วถ้ามันโตขึ้นมา ก็จะโตอย่างยั่งยืน

หลายคนพูดเรื่องของเป้าหมายกับวิธีการ ว่าเป้าหมายบริสุทธิ์วิธีการจะเป็นอย่างไรก็ได้ นั่นถือว่าทำความดีแล้ว แต่ของผมนั้น ไม่ใช่เป้าหมายบริสุทธิ์เพียงอย่างเดียว วิธีการต้องบริสุทธิ์ด้วย การยืนหยัดตรงนี้เราต้องอาศัยความเชื่อและศรัทธาจึงสามารถยืนหยัดต่อไปได้ ความเชื่อที่ว่านี้ก็คือ เราต้องทำให้ทั้งวิธีการและเป้าหมายบริสุทธิ์ไปพร้อมๆ กัน

ที่สำคัญคือ ทำธุรกิจแล้วต้องสบายใจ ธุรกิจต้องสีขาว ถ้าจะเอาผลิตภัณฑ์ไม่ดีไปหลอกลวง ผมไม่ทำเด็ดขาด ให้สมาชิก พนักงานบริษัทเราทำงานทำการจนมีผลตอบแทนเยอะ ๆ มีคนเชื่อถือมาก แล้วไปหาทางที่จะตัดรอนรายได้ของเขา ผมไม่ทำเด็ดขาด อีกอย่างที่สำคัญมากก็คือหากทำธุรกิจโดยรวมแล้ว ไม่ได้มีส่วนร่วมในการช่วยสร้างประเทศ เราไม่ทำอย่างเด็ดขาด แต่จะทำในสิ่งที่ปลูกฝังคนของเราว่า เราต้องมีผลิตภัณฑ์ที่ดี เพื่อคนไทยมีสุขภาพดี สุขภาพกายที่ดีมาจากภูมิคุ้มกันที่ดี สุขภาพใจที่ดีมารจากความสวยความงามและรูปร่างที่ดี และสมาชิกของเราเขาจะมีความภาคภูมิใจจากการมีรายได้ดีขึ้น ภูมิใจจากการแนะนำสิ่งที่ดีให้เกิดขึ้น

นอกเหนือจากนั้น สิ่งสำคัญที่สุดอย่างยิ่งคือ เราต้องเสียภาษีทุกบาททุกสตางค์ นั่นคือหน้าที่ของประชาชนคนไทยทุกคน ทุกครั้งที่ออกไปขายของ เราถึงจะมีความภาคภูมิใจจากการช่วยประเทศชาติ

ตอนเริ่มแรกหลายคนคงอยากทำธุรกิจสีขาวเหมือนผม แต่พอเวลาผ่านไป เขาอาจไม่มีความเข้มเข็งเพียงพอที่จะสืบต่อไปได้ นอกจากความสบายใจซึ่งเป็นความเข้มแข็งอย่างหนึ่งแล้วผมคิดว่าพื้นฐานสำคัญมาจากการเป็นคนรักความยุติธรรม ผมเป็นอย่างนี้ตั้งแต่เด็ก ทุกอย่างต้องถูกต้องเอาเปรียบใครผมไม่ทำ เป็นอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไร เมื่อใดที่เกดความไม่ยุติธรรมผมจะยืนอยู่ข้างหน้า เพื่อทำให้ยุติธรรมขึ้นมาให้ได้ ดังนั้นเมื่อสมาชิกเข้ามาร่วมทำธุรกิจ เราก็ต้องยุติธรรมกับเขา แต่ถ้าพวกที่เอาเปรียบเข้ามาผมจะหาวิธีจัดการให้เขาออกไป

สำหรับคนในบริษัทของเรานั้น ถ้าคดโกง ไม่ซื่อสัตย์ เราไม่มีทางเก็บเขาไว้ ไม่ว่าเขาจะอยู่ในระดับไหน เขาต้องออกไป ในอีกทางหนึ่ง การดูแลสมาชิก ดูแลบุคลากรของเรา ผมจะดุแลด้วยความยุติธรรมกับเขาที่สุดพยายามให้เขามีความสุขอย่างเต็มที่มากที่สุด

แต่ถ้าทำผิดเมื่อไร่ตรวจสอบขัดเจนแล้ว เอาออกทันที"

 

ทีมสหวิชาการ


การที่ผมมองเห็นในสิ่งที่นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์รุ่นเดียวกันมองไม่เห็น เดินล่วงหน้าเขาไป คิดและทำงานล่วงหน้านักวิชาการคนอื่น  ๆ ตอบยากว่าเป็นเพราะอะไร แต่ผมคิดว่าอาจจะเป็นเพราะ "สหวิชาการ"

สหวิชาการทำให้เรามองได้กว้างกว่า ลึกวกว่าความรู้เฉพาะทางจากทีมของเราที่มีหลากหลายสาขาวิชา ทำให้เรามองไปข้างหน้าไดยาวไกลปัญหาเดียวกันคนอื่นอาจมองไม่ทะลุ ตีบตันไปหมด แต่เรามองปุ๊บ ตรงนี้ก็มีคนช่วย ตรงนั้นเราก็มีคนช่วย มีทีมวิจัยเป็นนักวิทยาศาสตร์หลายสาขามาทำงานร่วมกัน

การสร้างทีมงานที่ดี หรือการจะมีความเป็นสหวิชาการในหลายๆ  ด้านได้นั้น สิ่งจำเป็นประการแรกคือ เราต้องมีเงินทุนสำหรับทำวิจัย สิ่งสำคัญที่เป็นพื้นฐานหลักอีกอย่างคือ เราต้องยุติธรรม เราต้องทำงานไม่ใช่ในฐานะหัวหน้าโครงการ แต่ต้องเป็นผู้ร่วมงาน ซึ่งมีความผิดชอบมากกกว่าแค่การประสานงาน

 

คัดเลือกผู้ร่วมงาน


ผมจะคัดเลือกทีมด้วยตัวเอง เลือกทั้งนักศึกษาและนักวิจัยที่เข้ามาร่วมงานกันตั้งแต่แรก ส่วนใหญ่เด็กเฉไฉไม่กล้าเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เขาคงกลัวผมตั้งแต่ต้นแล้ว เด็กที่เข้ามักเป็นเด็กเอาถ่านสำหรับนักวิชาการผมเลือกเอง คัดเฟ้นนักวิชาการที่ทำงานจริง และซื่อสัตย์ต่อสิ่งที่เขาทำ ตรงนี้เป็นคุณสมบัติสำคัญที่สุด ไม่เช่นนั้นถ้าเจอลูกน้องหักหลัง เอาข้อมูลไปขายหรือเอาข้อมูลไม่จริงมาให้ เราตายได้ เราอาจแย่และพังไปด้วย ผลวิจัยที่ลูกน้องให้เรามาต้องเป็นสิ่งที่ทำในห้องแล็บจริง ๆ นี้เป็นเรื่องสำคัญมาก แล้วคนที่ผมเลือก ต้องเป็นคนที่มีการฝึกฝน มีพื้นฐานความรู้ที่ดีมาด้วย ช่วงแรกให้ลองมาทำงานด้วยกันก่อน ถ้าคุยกันแล้วสนุกดี นิสัยใจคอเข้ากันได้ ไปด้วยกันได้ ค่อยชวนทำงานประจำ

ผมดูตัวอย่างจากผู้ใหญ่หลายคน อย่างคุณเทียม โชควัฒนา เจ้าของเครือสหพัฒนพิบูลย์ หรือพวกเถ้าแก่ทั้งหลายที่มาจากเมืองจีนชนิดเสื่อผืนหมอนใบ เขาประสบความสำเร็จมากกว่าผมพันเท่าหมื่นเท่า เขามีลูกน้องมากกว่า แบกภาระความรับผิดชอบมากกว่า เขายังทำได้ ถามว่าผมเครียดไหมที่มีลูกน้อง ผมห่วงเขามาก แต่ในทางหนึ่งลูกน้องก็เป็นแรงผลักดันสำคัญให้งานของเราเดินไปข้างหน้า

 

สร้างทีมวิจัย


ในส่วนของทีมงานสายวิทยาศาสตร์ของผม เริ่มจากการที่ผมเป็นอาจารย์ มีลูกศิษย์ปริญญาตรี แล้วเข้ามาเรียนปริญญาโท เมื่อเรียนปริญญาโทเขาต้องทำวิจัยอยู่แล้ว จึงเข้าเป็นทีมงานของเราโดยปริยาย ในระหว่างที่ผมอยู่ในมหาวิทยาลัย มีอาจารย์ภาควิชาเดียวกันมาร่วมงาน ระยะสั้นบ้าง ระยะยาวบ้าง การร่วมงานกันในลักษณะอย่างนี้ คนที่ทำงานแล้วไปกันได้ก็อยู่ต่อไปเรื่อย ๆ

ลักษณะของทีมงานที่ร่วมงานกับผมได้ ประการที่หนึ่งคือว่า เราต้องทำงานจริงจังเหมือนกัน ไม่ทำๆ หยุดๆ อีกอย่างหนึ่งคือเรามีความคิดเห็นตรงกัน ทำเพื่อเป้าหมาย ไม่คิดเล็กคิดน้อย ถ้ามีปัญหาเราช่วยกันแก้ไข ผมทำงานอย่างมีเป้าหมายชัดเจนเสมอ ทำออกมาแล้วต้องให้นำไปใช้ได้ และผมไม่ได้กำหนดว่าจะต้องอยู่ในขอบเขตสาขาวิชาของเราเท่านั้น ผมใฝ่หาคนที่จะเข้ามาร่วมกับเราหลากหลายสาขาที่จะเป็นประโยชน์สามารถทำงานให้ทะลุถึงเป้าหมาย

อย่างเช่นการทงานวิจัยเรื่องมังคุดเพื่อไปให้ถึงมือผู้ใช้ จำเป็นจะต้องมีการทดสอบทางเภสัชวิทยา ทางจุลชีววิทยา ทางการแพทย์ ผมเดินอออกไปหาทีมเหล่านี้เอง หาคนสนใจให้มาร่วมงานกัน เราอยู่ด้วยกันตั้งแต่แรกเริ่มและทำงานต่อเนื่องร่วมกันมาตลอด

 

ทีมงานวิจัยจากสงขลา


ทีมงานรุ่นแรกของผมบุกเบิกร่วมกันมาตั้งแต่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คือ รศ. ดร.วิลาวัลย์ มหาบุษราคัม เขาเริ่มตั้งแต่เป็นนักศึกษาปริญญาตรี และเป็นนักศึกษาปริญญาโทคนแรกที่ทำวิจัยเรื่องมังคุด ต่อเนื่องไปจนถึงระดับปริญญาเอก

ผมสอนอยู่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 สอนได้ปีเศษๆ ก็ได้ทุนไปอเมริกาสองปีครึ่ง แล้วกลับมาที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ใหม่ ผมกลับมาจากอเมริกามาสอน ดร.วิลาวัลย์ตอนที่ยังเป็นนักศึกษาปริญญาตรี ประมาณปี พ.ศ. 2519 เราเริ่มทำงานด้วยกันมาตั้งแต่ตอนนั้น สมัยนั้นทางมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ยังไม่เปิดสอนถึงระดับปริญญาเอก ผมเลยส่ง ดร.วิลาวัลย์ไปเรียนต่อที่ซิดนีย์ ประเทพศออสเตรเลียผมติดต่อกับ ศาสตราจารย์ ดร.วอล เทเลอร์ ด้วยตัวเอง ติดต่อหาทุนด้วยการเขียนสนับสนุนไปให้ ดร.วิลาวัลย์ก็ได้ทุนไปทำเรื่องมังคุด จนเรียนจบได้ปริญญาเอกกลับมาแล้ว ยังได้ทำงานร่วมกันในทีมสหวิชาการจนถึงบัดนี้

ตอนผมอยู่ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในช่วงแรก งานมังคุดยังมีมาก แล้วตอนนั้นผมยังไม่ได้ปักหลักอะไรชัดเจน เพราะเพิ่งย้ายมาจากขอนแก่น แล้วยังมาเจอเรื่องการเมืองวุ่นวายในมหาวิทยาลัยสงขลาฯ อีก จนกระทั่งผมกลับจากรับทุนไปทำวิจัยหลังปริญญาเอกที่อเมริกาแล้ว เป้าหมายถึงเริ่มชัดเจนขึ้น ตั้งใจว่าจะต้องมีการวิจัยเกิดขึ้นในมหาวิทยาลับ ผมถึงทำทุกอย่างเพื่อให้เกิดบัณฑิตวิทยาลัย ให้มีบรรยากาศของการวิจัยเกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย

ผมเป็นคนตั้งบัณฑิตวิทยาลัย ที่มหาวิทยาลัยสงขลาฯ เคยเป็นคณบดีทำหลักสูตรแรกของปริญญาโทคือเคมีศึกษา มี ดร.วิลาวัลย์เป็นนักศึกษาปริญญาโทคนแรก ทำเรื่องมังคุดเป็นคนแรก จนกระทั่งบัดนี้ ดร.วิลาวัลย์ก็ยังทำเรื่องมังคุดอยู่ เพียงแต่ขยายออกไปทางด้านอื่นๆ อีก นี่เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ผมทำเรื่องมังคุดต่อเนื่องมาเรื่อยๆ ได้เห็นลูกศิษย์เราเขาเจริญเติบโตขึ้นมา เป็นความภาคภูมิใจของเรา แต่อีกแง่หนึ่งการที่เขายังทำเรื่องนี้อยู่ก็ด้วยความเป็นคนดี คนมุ่งมั่น กัดไม่ปล่อยของเขาเองด้วย ถ้าจะเอ๋ยถึงนักวิทยาศาสตร์หญิงที่เป็นดอกเตอร์มังคุดตัวจริง ต้องเป็น ดร.วิลาวัลย์แน่นอน เขาคือมือที่ทำเรื่องมังคุดตัวจริง ทำมายาวนานที่สุดคนหนึ่ง ปัจจุบันเขาเจริญเติบโตอย่างมากทางวิชาการตอนนี้เป็นรองศาสตราจารย์แล้ว ส่วนในเรื่องการช่วยมหาวิทยาลัย รู้สึกจะเป็นรองคณบดี คระวิทยาศาสตร์ มีตำแหน่งบริหารอยู่ด้วย

ผมว่า ดร.วิลาวัลย์มีบทบาทสำคัญมากในการวิจัยเรื่องมังคุดไม่ผิดเลยถ้าจะบอกว่าวิลาวัลย์เป็นตัวจักรสำคัญที่ทำให้เกิดการทำวิจัยเรื่องนี้ ผมยังจำได้ว่าตอนที่เราอยากทำเรื่องมังคุด เราไปหาเปลือกมังคุดจากข้างสถานีรถไฟนครศรีธรรมราช เมืองนี้เขาปอกมังคุดทำมังคุดคัดขายกันทั่วเมือง ดร.วิลาวัลย์เขาเป็นคนนครฯ คนที่ไปเอาเปลือกมังคุดมาให้ก็คือคุณสมชายคุณพ่อของวิลาวัลย์ คุณพ่อมาช่วยเราทุกอย่าง ก็ช่วยลูกสาวนั่นแหละสมัยนั้นเราเอารถจากมาหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไปที่นครศรีธรรมราช ได้เห็นคนนครฯ เทเปลือกมังคุดทิ้งที่ข้าทางรถไฟ เราโกยใส่ถังน้ำมันสองร้อยลิตรกลับมาที่สงขลา ให้ ดร.วิลาวัลย์ทำเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาโท งานนี้เริ่มเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาที่ผมอยู่มหาวิยาลัยสงขลานครินทร์

 นอกจากสงขลายังมี ดร.วัชรินทร์ รุกขไชยศิริกุล คนนี้เป็นลูกศิษย์ที่มาช่วยในช่วงต้น แต่เนื่องจากเขามีภาระต้องทำอย่างอื่นจึงไม่ได้ทำเรื่องมังคุดต่อ แต่ผมยังนึกถึงเขาว่ามีส่วนร่วมในช่วงที่งานเกิดขึ้น และมี ดร.ฉวีวรรณ จั่นสกุล เป็นคนทดสอบว่ามังคุดที่เราสกัดออกมามีอันตรายได ๆ ไหม เป็นพิษเป็นภัยหรือเปล่า ดร.ฉวีวรรณทดสอบมังคุดกับเชื้อแบคทีเรีย ผลออกมาให้ตื่นเต้นกันว่า มันฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้

ลูกศิษย์อีกคนหนึ่งคืออาจารย์อัมพร ศรประสิทธิ์ คนนี้จบมาทางพิษวิทยา จึงเป็นคนทดสอบว่า GM1 สารสกัดจากมังคุดที่เราต้องการเอาไปใช้ มีอันตรายมากน้อยแค่ไหนในหนูทดลอง ทำการทดลองจนเรามั่นใจว่าใช้ได้ปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง

อีกคนหนึ่งที่ทำงานร่วมกันต่อเนื่องมาเรื่อย ๆ คือ รศ. ดร. ภญ.เสาวลักษณ์ พงษ์ไพจิตร น้องสาวอาจารย์ผาสุก พงษ์ไพจิตร ด้วยความที่เป็นน้อง ดร.ผาสุก ก็อาจจะทำให้เราสัมพันธ์กันใกล้ชิด เพราะผมกับผาสุกเป็นเพื่อนนักเรียนทุนโคลอมโบที่ไปเรียนออสเตรเลียรุ่นเดียวกัน ดร.เสาวลักษณ์เป็นคนเอาการเอางาน เชี่ยวชาญทางจุลชีววิทยา ได้ทำงานต่อเนื่องด้วยกันมาเรื่อย ๆจนกระทั่งบัดนี้ก็ยังอยู่ในทีม

ถือว่าผมโชคดีที่มีเพื่อนร่วมงานกลุ่มนี้ซึ่งมีความรู้ความชำนาญหลากหลายสาขามาช่วยกัน นอกจากที่เอ่ยมาแล้วยังมีอยู่อีกบ้าง แต่ถ้าพูดถึงทั้งหมดคงเยอะเกินไป เอาเท่าที่ผมนึกได้ตอนนี้

 

ทีมงานวิจัยที่เชียงใหม่


เมื่อผมย้ายมาสอนที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็มาหาทีมงานใหม่ก่อนมาเชียงใหม่ผมเคยทำงานในเชิงสหวิชาการ ได้มีโอกาสพบกับอาจารย์ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คือ ดร.ดวงตา กาญจนโพธิ์ และ ดร.อำไพ ปั้นทอง มาแล้ว เขาเป็นคู่หูกัน ทำงานวิจัยทดสอบประสิทธิภาพทางเภสัชวิทยาของสารธรรมชาติ จากการทำงานที่เราเข้าไปอยู่ในเครือข่ายของยูเนสโกด้วยกัน จึงมีโอกาสพบปะกันบ่อยๆ เราพูดคุยกันแล้วถูกคอดี

มีครั้งหนึ่งผมได้มาเที่ยวเชียงใหม่ ดร.ดวงตากับ ดร.อำไพถามว่าผมอยากจะย้ายมาที่เชียงใหม่ไหมล่ะ จังหวะนั้นเป็นช่วงที่ผมเริ่มจะมีปัญหาที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พอดี และผมเองกำลังอยากขยายงานวิชาการของผมออกไปในเชิงเภสัชฯ อยู่ด้วย จึงตอบตกลง ย้ายมาอยู่ที่คณะเภสัชฯ แต่มาอยู่แล้วแทนที่จะได้ขยายงานเข้าไปร่วมทำงานกับอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ ผมกลับได้เพียงนักศึกษาปริญญาโทเข้ามาช่วยงาน ส่วนคนที่เข้ามาร่วมงานจริงจังกลับเป็น ดร.ดวงตาและ ดร.ดำไพจากคณะแพทศาสตร์ซึ่งได้ทำการทดสอบเรื่องมังคุดต่อเนื่องมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งบัดนี้ ดร.อำไพยังร่วมทีมอยู่ ส่วน ดร.ดวงตาฉีกแนวออกไป ตอนนี้เกษียณแล้ว

มีบางช่วงที่ผมหยุดทำงานร่วมกันทีมไปพักหนึ่ง เนื่องจากพยายามออกไปทำอุตสาหกรรมเพื่อรองรับงานวิจัยของเรา ผมคิดว่าชีวิตคงเสียเปล่า ถ้าหากทำวิจัยแล้วไม่มีสิ่งที่ออกไปใช้ได้จริง การมีแค่ผลงานตีพิมพ์ มีความภาคภูมิใจกับการเสนอผลงาน ได้ไปบรรยาย แล้วจบ จบเพียงแค่นั้นล่ะหรือ? เงินทองที่ใช้ไปแม้จะไม่ได้ใช้ภาษีของประชาชนไทย เพราะส่วนใหญ่ได้ทุนมาจากต่างประเทศ แต่ผมยังมีความหวังว่า เราทำวิจัยแล้วควรต้องมีรูปธรรมเป็นชิ้นเป็นอันออกมาคนได้ใช้

ด้วยความหวังความมุ่งมั่นดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ก่อนตัดสินใจออกมาทำธุรกิจเต็มตัวนั้น ผมเคยพยายามคุยกับหน่วยงานรัฐหลาย ๆ แห่ง ที่มีนโยบายสนับสนุนงานวิจัยให้ออกไปเป็นธุรกิจ แต่นโยบายสวยหรูเหล่านั้นไม่มีใครเห็นหนทางที่จะทำให้เป็นจริงได้ ไม่มีใครรู้วิธีเลย

เข้าไปสัมผัสตรงนี้แล้วทำให้ผมมาคิดว่า ถ้าสิ่งนี้เป็นเรื่องใหม่ เราจะไปหวังให้คนอื่นทำ มันไม่ถูก เราต้องทำเอง หวังพึ่งคนอื่นคงไม่ได้ ผมจึงลุยงานทางธุรกิจด้วยตัวเอง ล้มลุกคลุกคลานมาด้วยตัวเอง การวิจัยในเชิงวิทยาศาสตร์ช่วงนั้นจงพร่องลงไปบ้า จนกระทั่งระยะหลังงานทางธุรกิจเริ่มอยู่ตัว ผมถึงกลับมาจับเรื่องมังคุดอีกรอบหนึ่ง

ผมกับ ดร.อำไพคุยกันตลอด ติดต่อกันตลอด พอดี ดร.อำไพรู้จักกับ รศ. ดร.ศิริวรรณ องค์ไชย (แย้มนิยม) และ ร.. ดร.ปรับญา พงษ์ทวีเลิศ ภาควิชาชีวเคมีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.ปรัญญา และ ดร.ศิริวรรณเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านกระดูกอ่อน (Cartilage) เราเลยนัดคุยกัน นัดกินข้าวกัน พูดคุยแล้วรู้สึกถูกคอ ก็คุยกันไปเรื่อยๆ ได้คุยงานทางวิทยาศาสตร์ไปด้วย สังสรรค์ไปด้วย กินข้าวสนุกสนาน ดื่มไวน์ด้วยกันเล็กน้อย เป็นการพบปะที่มีความสนุกเพลิดเพลินในชีวิต จากนั้นมาเราก็ได้ร่วมทำงานอย่างเป็นกิจจะลักษณะในเชิงลึก คือพัฒนาGM1 จากมังคุดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

มีทีมยิ่งก้าวไกล


ก่อนมีทีมวิจัยเชียงใหม่ขึ้นมานี่ ผมทำแคปซูลจากมังคุดสกัดเสร็จไปแล้ว และต้องการคนเข้ามาดูว่า แคปซูลที่ทำนี้จะช่วยแก้โรคปวดข้อปวดเข่า หรือข้ออักเสบ หรือโรคกระเพาะได้หรือไม่ จึงเกิดเป็นโครงการทำงานร่วมกันขึ้นมา

แต่ทีมงานคณะอาจารย์กลุ่มนี้เขาอยู่ในมหาวิทยาลัย ผมอยู่ในบริษัทเราต่างมีเงินทองทำงานวิจัยได้เพียงเล็กๆ น้อยๆ ในเชิงลึกคงทำไม่ได้ เพราะต้องใช้ทุนมาก ดร.ปรัชญาพยายามหาทุนรอนในการทำวิจัย ผมก็วิ่งหาทุนสำหรับโครงการวิจัยจากภาครัฐเพื่อให้ผู้ทำงานเหล่านี้ทำงานด้วยความสะดวกใจไม่ต้องแอบๆ ซ่อนๆ เพราะใช้เงินจากภาคเอกชน เพื่อนำสิ่งที่เราพัฒนาออกไปสู่อุตสาหกรรมได้จริง

 

(อยาก) ทำวิจัยต้องหาทุน


ผมลองติดต่อหน่วยงานที่เป็นองค์กรสนับสนุนการวิจัย 2-3 แห่ง ส่วนใหญ่มักผิดหวังกับมุมมองและความคิดของเขา จนกระทั่งมาถึงสำนักงานพัฒนาการวิจัยทางการเกษตร (สวก.)

พวกเราแต่ละคนต่างเติบโตมาจากงานวิจัยมังคุด แต่การจะไปทำงานวิจัยเพื่อจะศึกษาเรื่องคุณสมบัติของ GM1 ในมังคุดเพียงอย่างเดียวมันจะได้แค่งานวิจัย เราต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่าเราศึกษาไปเพื่ออะไร ถ้าเราบอกว่าจะทำวิจัยเพื่อทำผลิตภัณฑ์ออกมาจำหน่าย คงไม่มีหน่วยงานไหนให้เราศึกษา

พอดีกับ สวก. เขามีนโยบายที่จะให้เกิดการพัฒนาทางการเกษตรให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ได้จริง ผมจึงเสนอ

โครงการเข้าไปขอให้ สวก.มาร่วมลงทุน เพื่อให้เกิดภาพว่าเป็นการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของ สวก. อยู่แล้ว ท้ายที่สุดสรุปว่า สวก.ให้เงินเรามา 1.52ล้านบาท ส่วนที่เหลือบริษัทของเราลงทุนเองทั้งหมด

โครงการนี้แม้จะมีงบประมาณเพียงเล็กน้อย แต่ก็เป็นงบประมาณจากภาครัฐทำให้เราเกาะกลุ่มกันติด ร่วมงานกันเป็นทีม เรามีทุนเข้ามาอย่างเป็นทางการ ดร.ปรัชญา ดร.ศิริวรรณ ดร.อำไพ ดร.เสาวลักษณ์ และดร.วิลาวัลย์ ก็เข้ามาร่วมโครงการอย่างเป็นทางการได้ โดยไม่ได้เข้ามาทำงานกับบริษัท แต่ทำงานในโครงการขององค์กรมหาชน แล้วโครงการนี้ยังสามารถช่วยชาวสวนมังคุดได้ด้วย

ทีมวิจัยของเรา ในชื่อ Operation BIM จึงเกิดขึ้นมานับแต่นั้น

 

ระยะทางไม่อาจขวางงานวิจัย


 การที่ทีมงานของเราเป็นอาจารย์ทั้งจากสงขลาและเชียงใหม่ ถึงระยะทางจะไกลกันมาก แต่ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการทำงานแม้แต่น้อย หากเป็นสิบปีก่อน เรื่องระยะทางคงเป็นปัญหา แต่ระยะหลังนี้เทคโนโลยีสร้างความสะดวกขึ้นมาก เราใช้โทรศัพท์ติดต่อกันได้

แม้ปัจจุบันนี้การเดินทางจะเสียเวลาพอสมควรก็จริง แต่เมื่อต้องเดินทางไปทำงาน เราต้องปรับตัวของเรา ผมมักใช้เวลาบนเครื่องบินพักผ่อนเมื่อไปถึงจุดหมายก็พร้อมทำงานได้ทันที พอเราปรับตัวแล้ว การเดินทางไม่เป็นปัญหาเลย อีกทั้งระบบโทรคมนาคมยังช่วยได้เยอะจริง ๆ

ในอีกทางหนึ่ง การมีทีมงานอยู่ห่างกันอย่างนี้อาจจะดีตรงที่ทำให้เราไม่เบื่อกัน ช่วยให้เปลี่ยนบรรยากาศไปเรื่อยๆ คนเรานี่ใกล้เกลือมักจะกินด่าง ใกล้กันมาก ปราชญ์ท่านว่า มงกุฎมันจะเกี่ยวกันหัวสั่นหัวคลอนเอาได้เพราะอีโก้มันแรง

 

ร่วมงานอย่างไม่ขัดแย้ง


หลายคนตั้งข้อสงสัยว่า ทีมงานวิจัยของเรามีนักวิชาการหลายคนแต่ละคนล้วนดอกเตอร์ เก่งๆ ทั้งนั้น เราอยู่กันอย่างไร เวลาทำงานร่วมกันแล้วมีปัญหาขัดแย้ง เราหาทางออกได้อย่างไร

 ผมพยายามทบทวนว่า ทีมเราเคยมีปัญหาหรือขัดแย้งอะไรกันบ้างไหม นึกไม่ออก อาจเป็นเพราะเรื่องการทดลองทางวิทยาศาสตร์ หรือว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์มันมีหลักฐานชัดเจน ไม่ต้องถกเถียงในเรื่องความเห็นอย่างสายสังคมศาสตร์หรือมนุษยศาสตร์ เพราะผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ออกมาชัดๆ ตรงๆ ส่วนใหญ่ทีมของเราจะสนับสนุนกันมากกว่า ผมยังไม่พบความขัดแย้งชนิดอัดกันหน้าดำหน้าแดงจนหาทางออกไม่ได้ ผมไม่รู้ว่าคนอื่นพบปัญหารุนแรงระหว่างกันหรือไม่ แต่ว่าทีมของเราเวลาพบปะกันเรามีความสุขมาก บางทีคุยไม่ได้สะระยังสนุก บางทีอาจจะเป็นเรื่องดวงเข้ากันได้ด้วยกระมัง

 

ความสำคัญของการทำงานเป็นทีม


ทีมงานเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าไม่มีทีม ผมคงไม่ได้มาถึงตรงนี้ อาจจะยังหน้าดำคร่ำเครียดอยู่ในห้องแล็บ อย่างมากคงจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานภาคภูมิใจกับการมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ แล้วจบแค่นั้น ถ้าทำเพียงแค่นั้น ถึงวัย 60 ปี เกษียณอายุไป ผมอาจจะมานั่งคิดว่า ชีวิตของเรามันสูญเสียไปแล้ว เสียไปเปล่าๆ ปลี้ๆ ฟรีๆ ไม่เหลืออะไรเลย

 แต่การที่ผมมีทีมงาน มีเป้าหมายชัดเจน เวลาผมพูดอะไรไป ถ้าผิดก็จะมีคนบอกผมว่า อาจจะเป็นอย่างนี้มากกว่า หรือถ้าผมยกประเด็นขึ้นมาจะมีคนช่วยตอบ ช่วยมอง อย่างกรณีที่เราค้นพบเรื่องของสาร GM1 ช่วยให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายเกิดความสมดุลนั้น ทุกวันนี้เวลาไปบรรยาย ผมพูดเลยว่าผมโง่มานานถึง 29 ปี มองไม่เห็นคุณสมบัติสำคัญที่สุดของ GM1 ที่ผ่านมาผมสงสัยมาตลอดว่าทำไม GM1 ดีอย่างนี้ ทำไมจึงฆ่าแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อรา ต้านอักเสบ และต้านอนุมูลอิสระได้ดีมาก เราเห็นแค่นี้ เพราะเราคิดในเชิงวิทยาศาสตร์ คิดจากผลการทดสอบทางวิยาศาสตร์ในหลอดทดลองโดยไม่เคยมองเห็นไกลไปกว่านั้น ไม่อาจอธิบายได้ว่าเพราะอะไร GM1 ไปทำอะไรในร่างกายมนุษย์ถึงจัดการปัญหาต่าง ๆได้หลายอย่างนัก จนกระทั่งมานั่งกินข้าวกับทีมงาน เพื่อทำโครงการพัฒนามังคุด ซึ่ง ดร.ปรัชญาอยากจะทำเกี่ยวกับเรื่องข้อเข่า ผมเห็น ดร.ปรัชญาทำงานจริงจังดี เลยพยายามหาเงินทุนมาสนับสนุนเขา ที่จริงแล้วจะใช้เงินทุนของบริษัทเราสนับสนุนก็ได้ แต่ถ้ามีจากภาครัฐเข้ามาด้วย กร.ปรัชญาจะสามารถเข้าร่วมทำงานวิจัยนี้ได้โดยไม่เป็นที่ติฉินนินทา

เมื่อ ดร.ปรัชญาเริ่มบอกว่าสนใจเรื่องข้อเข่าอักเสบ ผมก็ยกแคปซูลให้เขาดู บอกว่าผมทำแคปซูลจากมังคุดที่จะใช้กับอาการข้ออักเสบไว้กำลับจะออกสู่ตลาดแล้ว ดร.ปรัชญาตกใจ ถามผมว่าทำไมอาจารย์ทำได้เร็วมากนัก ผมตอบว่าไม่ใช่ผมทำเร็ว ที่จริงผมทำเสร็จก่อนหน้าจะเจอกับ ดร.ปรัชญาแล้วเพียงแต่ว่า พอได้ข้อมูลจาก ดร.ปรัชญาเรื่อง Interleukin 1 ผมก็คิดว่านี่มันเป็นเรื่องใหม่ที่ผมไม่เคยรู้เลย ผมไม่เคยมองเรื่องนี้มาก่อน เมื่อได้พูดคุยกันผมเห็นว่าเรื่องนี้ดี น่าจะได้ทำอะไรต่อ ผมเลยไปเริ่มศึกษาบ้าง

Interleukin 1 คือสารที่หลั่งโดยเม็ดเลือดขาวในร่างกาย เป็นภูมิต้านทานที่หากมีมากเกินไปร่างกายจะเกิดปัญหา พอผมมามองอย่างจริงจังก็เกิดโลกทัศน์ใหม่ว่า หากผลิตภัณฑ์ของเราช่วยลด Interleukin 1 ได้เม็ดเลือดขาวก็จะสมดุลขึ้น ข้อเข่าอักเสบจะดีขึ้น ธรรมชาติสร้างเม็ดเลือดขาวมาให้ดูแลสุขภาพของเรา ถ้ามีสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกเข้าสู่ร่างกายหรือร่างกายถูกกระตุ้นด้วยสิ่งแปลกปลอมใด ๆ จากภายนอก เม็ดเลือดขาวจะช่วยจัดการได้หมด ถ้าเป็นจริงอย่างทฤษฎีที่ ดร.ปรัชญาให้ความรู้ไว้ จะเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมาก ผมเลยบอกให้ ดร.ปรัชญาลองไปทดสอบ GM1 ของเราดู

เราสั่งซื้ออุปกรณ์ในการทดสอบ Test Kit มาครั้งละหกหมื่นบาทแล้ว ดร.ปรัชญาก็ทำการทดสอบ ปรากฏว่าได้ผลดีมาก นั่นยิ่งทำให้เราศึกษาเม็ดเลือดขาวอย่างเจาะลึกมากขึ้น จนในที่สุดได้รู้ว่า โรคแพ้ภูมิตัวเองนั้นเกิดขึ้นจากการมี Interleukin 1 มากเกินไป ซึ่งตรงนี้เราหาวิธีลดมันได้แล้วด้วย GM1

ส่วนภูมิต้านทานอีกตัวหนึ่งที่สำคัญก็คือ Interleukin 2 ซึ่งนักภูมิคุ้มกันวิทยาจะรู้ว่า Interleukin 2 มีความสำคัญมากๆ เพราเป็นตัวทำให้เม็ดเลือดขาวมีความสามารถในการจัดการกับสิ่งแปลกปลอมจากภายนอกได้มากขึ้น

ผมโทรศัพท์ถึง ดร.ปรัชญาว่า อาจารย์จุดประกายให้ผมแล้ว ดีมากเลย ผมบอก อาจารย์ใจเย็น ๆ นะ สมมุติมันเป็นอย่างที่เราคิด ถ้า Interleukin 1 ลดได้มันเรื่องใหญ่ แต่ถ้าทำให้ Interleukin 2 เพิ่มได้นี่มันเรื่องใหญ่กว่า แล้วเราก็มานั่งปรึกษากัน ตอนนั้นยังไม่คิดว่าเราจะได้รับคำตอบเกี่ยวกับ GM1 ที่มีผลต่อภูมิต้านทานในร่างกายมนุษย์ แต่อะไรไม่รู้ที่ทำให้เราลองมองไปอย่างนี้ อาจเป็นเพราะอาศัยประสบการณ์ของคนที่ใช้ผลิตภัณฑ์มังคุดของเราด้วยก็ได้ เขาพูดตรงกันว่า ใช้แล้วโรคต่าง ๆ ที่เป็นกันอยู่ ทุเลาหรือหายไปได้ สุขภาพเขาดีขึ้นกันทั้งนั้น ส่วนสำคัญที่ทำให้เรามามองมุ่งตรงไปที่เรื่องของภูมิคุ้มกันคือ การมีทีมงานที่ดีมาช่วยระดมความคิด นั่นคือการจุดประการให้เกิด Operation BIM ขึ้นมาจริง ๆ

ผมคิดว่า สาเหตุหนึ่งที่นักวิจัยคนอื่นเขาคิดกันไม่ได้ เป็นเพราะต่างคนต่างทำงานของตน เขาไม่มีทีมงาน ไม่มีโอกาสมานั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างพวกเรา เรามีโอกาสเช่นนี้เพราะว่า พอผมกลับมาบ้านที่เชียงใหม่ ตกเย็นผมไม่มีอะไรทำ ผมมีเวลาได้นั่งไตร่ตรองใคร่ครวญหลายๆ เรื่อง โดยไม่ต้องไปเสียเวลากับการเดินทางบนท้องถนนเหมือนอยู่ในกรุงเทพฯ

บ้านที่เชียงใหม่นั้น ตกเย็นแสนสบาย ได้พบเพื่อน ๆ พบทีมงานเรากินข้าวไปคุยกันไป บรรยากาศดีมากๆ แต่ละคนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ออกมาชัดเจน

ซึ่งนักวิจัยคนอื่น เขาอาจไม่มีโอกาสแบบนี้

 

บรรยากาศการทำงานเป็นทีม


ผมเคยเห็นนักวิจัยคนอื่นๆ ไม่ว่าทางสังคมศาสตร์หรือทางวิทยาศาสตร์ ต่างคนต่างทำงานของตัวเอง และค่อนข้างหวงความรู้ที่ค้นพบ เขาจะเผยแพร่ทีเดียวตอนงานเสร็จ แต่ผมเห็นต่างไปอีก เพราะพอได้ผลงานวิจัยออกมา ผมไม่เคยหวงไว้เป็นของตัวเองคนเดียว อย่างเช่นกรณีที่เราค้นพบว่า GM1 สามารถลด Interleukin 1  ได้ ผมบอกให้ ดร.ปรัชญาจดสิทธิบัตรเป็นสิทธิบัตรของ ดร.ปรัชญาไปเลย ผมไม่เอา เพราะผมไม่ได้ต้องการความเจริญก้าวหน้าจากการที่มีสิทธิบัตรเยอะๆ สิ่งที่ผมต้องการคือ ผลที่ออกมาถ้า ดร.ปรัชญาจะจดสิทธิบัตรผลวิจัยตรงนี้ก็จดไป ส่วนผมจะจดสิทธิบัตรในเชิงที่เอาไปใช้ อย่างนี้เป็นต้น แล้วเวลาที่ผมให้คำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ผมใส่ชื่อนักวิจัยทุกคน ส่วนหนึ่งคือการให้เกียรติ การให้เกียรตินี้เป็นภาษาทางสังคม แต่ความจริงลึกๆ ที่อยู่เบื้องหลังคือ "ใจ" ที่เรามีให้กับคนทำงานร่วมกัน ใจที่อยากให้ทีมงานมีความรู้สึกว่า เราเป็นเจ้าของร่วมกัน

 

รักษาทีมด้วยคุณธรรม


มีคำกล่าวอยู่ว่า คนไทยส่วนใหญ่ทำงนเป็นทีมไม่ได้ อันนี้ไม่ใช่สำหรับผม การที่ผมทำงานเป็นทีมและรักษาทีมไว้ได้ สิ่งสำคัญคือ "เราต้องมีคุณธรรม" คุณธรรมที่สำคัญคือไม่เอาเปรียบกัน ยิ่งในฐานะที่เราอาวุโสกว่าคนอื่น เราต้องเป็นคนยอมเสียสละ แต่อย่างผมนั้นไม่ต้องเสียสละแล้ว เพียงแต่ต้องไม่ไปควักไปคว้าผลประโยชน์ทุกๆ จุด มาเข้ากระเป๋าตัวเอง

คุณธรรมอีกข้อหนึ่งคือการแบ่งปัน ถ้ามีปะไรเกิดขึ้นต้องแบ่งปันกันแบ่งปันให้ทั้งทีมเกิดความชื่นใจในการทำงาน ทั้งนี้ไม่ใช่เพราะผมเป็นคนดีแต่ว่าผม "พร้อมและพอ" ผมไม่มีความจำเป็นต้องมีอะไรมากไปกว่านี้ ผมและอาจารย์อรุณีพอแล้ว ทุกวันนี้เรามีความสุขได้จากการเห็นคนทำงานร่วมกับเรามีความสบายใจ มีความภาคภูมิใจในการทำงาน นิสัยของผมนั้นถ้าได้เห็นคนที่มาทำงานด้วยรู้สึกภูมิใจ รู้สึกดีใจ จะเกิดความสุขลึกๆ ส่วนคนทำงานด้วยกันจะโตกว่าผมหรือเปล่า ตรงนั้นผมไม่ค่อยสนใจ อาจเป็นเพราะเขาไม่มีโอกาสโตมากกว่าผมล่ะกระมัง

อีกอย่างหนึ่งคือการไม่มองข้ามหัวใคร ตรงนี้สำคัญที่สุด มีอะไรเราเปิดเผยต่อกัน ตรงไปตรงมา เปิดเผยหมด ผมว่าทีมงานก็ภูมิใจที่ได้มีโอกาสแสดงความเป็นนักวิชาการ เราก็ดีใจ เพราะนี่คือสิ่งที่เราอยากเห็นมาตลอดความสุขลึกๆ เช่นนี้ หลายคนอาจอิจฉาผมด้วยก็ได้

 

แบ่งปันผลประโยชน์


การไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวเป็นเรื่องสำคัญมาก พอเราเริ่มช่วยชาวสวนอย่างจริงจังก็เริ่มมองเห็นว่าธุรกิจนี้ต้องทำกำไรแน่นอน ผมจึงให้ทีมวิจัยแต่ละคนร่วมลงทุนคนละเล็กน้อย เพราะผมอยากให้เขาเข้าร่วมด้วยอารมณ์เดียวกับผมในการทำงานตรงนี้ ผมมองล่วงหน้าว่าเราคงรู้สึกไม่ดีถ้าหากทำวิจัยจนขยายออกมาเป็นอุตสาหกรรม แต่มีแค่ผมที่ได้กำไรเป็นเงินเป็นทองเพียงคนเดียว แต่ถ้าผลกำไรออกมาแล้ว เรายกให้เขาทั้งหมดเขาคงรู้สึกไม่ดีเช่นกันจึงได้ข้อสรุปออกมาว่า จะเป็นการลงทุนร่วมกัน

แต่เนื่องจากว่าทีมงานแต่ละคนล้วนไม่เคยลงทุนมาก่อน จะทำอย่าไรกันล่ะ ผมจึงเขียนเป็นกิจจะลักษณะ เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเอกสารชัดเจน ให้อาจารย์อรุณีเซ็นเป็นพยาน ว่าการลงทุนตรงนี้ แค่นี้ ในเวลานี้ จะได้กำไรประมาณนี้ แล้วรับประกันว่า ทุกบาททุกสตางค์จะไม่มีการขาดทุนแม้แต่บาทเดียว ถ้าขาดทุน ผมจะคืนทุนให้ ผมรับประกันตรงนี้ แต่ถ้ามีกำไรเท่าไรเราแบ่งกัน ทำเสร็จก็ให้ทุกคนเก็บเอกสารหลักฐานนี้ไว้ ผมอยากให้เขาเกิดอารมณ์ร่วม เวลาปรึกษาหารือจะได้คุยจากมุมมองที่ใกล้กันอยู่บ้าง เพราะถ้าหากทุกคนยังอยู่ในมุมนักวิจัย แล้วผมออกมาอยู่ในเชิงธุรกิจ มีแนวโน้มว่าจะมองขัดกัน และอาจจะทำให้ร่วมมือกันไม่สะดวก พอผ่านไปสัก 7-8 เดือน โครงการเสร็จ ผมคืนเงินให้เขาไป แต่เยายังมีหุ้นอยู่

วันที่ผมจ่ายเงิน เอาเช็คไปให้ ทุกคนยังถาม เมื่อไรอาจารย์จะเพิ่มหุ้นล่ะ ถือเป็นความสุขร่วมกัน แต่ทุกคนก็ทำถูกต้อง เราเสียภาษีเต็มที่ ไม่มีบิดพลิ้ว นี่อาจเป็นเอกลักษณ์ของอาจารย์พิเชษฐ์ ต้องทำทุกอย่างให้ซื่อตรงถูกต้อง

 คิดดูแล้ว ถ้าผมไม่ทำแบบนี้ ยังไม่รู้ว่าบัดนี้ความสัมพันธ์กับทีมงานจะเป็นอย่างไร เพราะสิ่งที่ปรากฏคือนักวิจัยทำงานคร่ำเคร่งในห้องแล็บส่วนเราเอาผลงานเขาไปขาย จริงอยู่เขาย่อมได้ค่าใช้จ่าในฐานะนักวิจัย แต่ผลกำไรจริงๆ อย่างเป็นกอบเป็นกำมันคือการขายสินค้า ถ้าเรากอบโกยผลประโยชน์คนเดียว จะมองหน้ากันอย่างไร จะพูดกับทีมงาน กับเพื่อนของเราอย่างไร ทุกคนเป็นทีมของเรา เพื่อนของเรา และเราต้องการักษาองค์กรนี้ไว้

สาเหตุที่ผมคิดแบ่งปันคนอื่น แบ่งปันเพื่อนร่วมทีม ข้อแรกคงเป็นเพราะผมพอแล้ว ผมไม่รู้จะทำไปทำไม ลูกก็ไม่มี อายุก็มากขนาดนี้แล้วบอกตรงๆ ว่า มีมากไปกว่านี้ ไม่รู้จะเอาไปทำอะไร

อีกส่วนหนึ่งคือ ผมไม่มีความอัตคัดในตัวเอง เมื่อไม่มีความอัตคัดในตัวเอง การให้คนอื่นเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ผมว่าตรงนี้คือเรื่องสำคัญอีกอย่างนั้น การมีความสุขจากการทำงาน เป็นเป้าหมายหนึ่งของผม ผมคงเห็นแก่ตัวอยู่มาก ถึงอยากรักษาบรรยากาศการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขเอาไว้ ผมคิดว่าถ้าเรารักษาบรรยากาศนี้ไว้ได้ ให้ทุกคนมีความสุขเราก็จะมีความสุข มันเป็นความเห็นแก่ตัวที่จะรักษาเพื่อนและทีมงานเอาไว้

ผมอยากให้ทีมงานเข้าใจและรู้สึกว่างานวิจัยที่เขาทำ ไม่ได้ทำเพื่อรับใช้ความคิดผม แต่ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำอุตสาหกรรม พูดง่ายๆ คือผมปูทางให้ จะบอกว่าปูทางคงไม่ค่อยตรงนัก จริงๆ คือผมอยากจะให้ทีมงานเกิดความรู้สึกทางธุรกิจควบคู่กับการทำงานวิจัย เหมือนกับที่ผมรู้สึกและพยายามทำให้งานวิจัยไม่ถูกเก็บไว้บนหิ้ง แต่เป็นสิ่งที่เอามาทำประโยชน์กับมนุษย์ได้จริงๆ ผมจึงให้ทุกคนมาลงหุ้น ให้เขาเกิดความรู้สึกตรงนี้โดยที่ทุกคนไม่ต้องทำอะไรมาก เหมือนมีคนส่องทางให้เขาเดิน แล้วถ้าต่อไปภายหน้าทีมงานนักวิจัยจะทำอย่างนี้ด้วยตัวของเขาเอง จะเป็นสิ่งที่ผมชอบใจที่สุด ผมอยากให้เขาเห็นว่าการมองในเชิงธุรกิจเป็นอย่างไร ให้เขารับรู้ว่า แน่ล่ะย่อมมีความเครียดอยู่ด้วย ถ้าไม่กลัว เราจะสามารถทำได้

ประเทศไทยจะเจริญก้าวหน้าต่อไป จะต้องมีการผลักดันวิทยาศาสตร์ออกไปในเชิงธุรกิจให้ได้

 

หาความรู้อยู่เสมอ


นอกจากทีมงานเดียวกันแล้ว เราได้มีการพูดคุยกับนักวิจัยคนอื่นๆ อยู่เสมอ

ปัจจุบันนี้ เราทำวิจัยมาถึงจุดที่ลึกเข้าไปมากๆ เราก้าวหน้าอกว่าคนอื่นไปมาก เพราะทุกคนแสวงหาความรู้อยู่เสมอ อย่าง ดร.ปรัชญา ดร.ศิริวรรณ ทุกคนล้วนอ่านวารสารต่างๆ แล้วมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างจริงจัง แต่ละคนยังเข้าประขุมทางวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ นำความรู้มาแลกเปลี่ยนกัน ถึงบัดนี้ผมจะไม่ค่อยได้เข้าประชุมวิทยาศาสตร์แล้ว คิดในเชิงที่ว่าทำอย่างไรจึงจะนำออกมาใช้จริงได้ พอทีมงานแต่ละคนมาเสนอความเห็น ความรู้ใหม่ๆ แล้วผมจะไปคิดๆๆ คิดต่อ

ทุกวันนี้ ทีมงานของผมยังติดตามขาวสารทางวิทยาศาสตร์อย่างเข้มข้นอยู่ตลอดเวลา

 

เป้าหมายเหมือนแต่วิถีต่าง


ในเมืองไทยตอนนี้ทั้งภาครัฐ โรงพยาบาลต่างๆ หรือภาคเอกชนกระทั่งในส่วนของชาวบ้าน ต่างมีการทำงานทางด้านสมุนไพร หาสารสกัดจากธรรมชาติตัวใหม่ ๆเป็นจำนวนมาก มาผลิตเป็นยา เป็นอาหารเสริม เป็นเครื่องสำอางกันเต็มไปหมด อย่างโรงพยาบาลกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ หือโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี และยังมีหลายๆ ที่ ผมมองว่าเราทำงานกันคนละแบบ ของเขาเอาภูมิปัญญาชาวบ้านมาใช้โดยตรงนำความรู้ของชาวบ้านมาทำให้เป็นระบบ แล้วทำเป็นผลิตภัณฑ์ ส่วนของบริษัทเรา จะรวบรวมภูมิปัญญา ภูมิความรู้ของชาวบ้านมาทำวิจัย วิเคราะห์แล้วเอาไปพัฒนาต่อด้วยวิทยาศาสตร์สากล

ตัวอย่างคือ หน่วยงานทั่วไปเขาจะไปว่า ชาวบ้านใช้มังคุดทำอะไรถ้าเจอว่าเอาเปลือกมาต้มเพื่อกินแก้ท้องเสียได้ เขาก็จะเอาเปลือกมังคุดไปใส่แคปซูลขาย แต่ของเราไม่ใช่ ผมจะค้นหาว่า อะไรในเปลือกมังคุดที่เป็นตัวทำให้เกิดผลเช่นนั้น มีสารเคมีธรรมชาติตัวไหน ทำหน้าที่อย่างไร พอเราวิเคราะห์จนรู้กลไก รู้ว่าสารหน้าตาเป็นอย่าไรแล้ว เราถึงพัฒนา ยกระดับผลิตภัณฑ์ของเราขึ้นมาได้

 ส่วนลักษณะการทำงานอย่างที่ อบต.ทำ กลุ่มชาวบ้านต่างๆ ทำกันมานั้น ไม่ได้ต่างอะไรจากที่โรงพยาบาลของรัฐหลายแห่งทำกัน แม้แต่กรมแพทย์แผนไทยก็ทำแบบนี้ คือใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติใสถุงขายโดยตรง วิธีนี้ผมไม่ได้มองว่าเขาล้าหลัง เนื่องจากเขามีองค์ความรู้อยู่แค่นี้ ทำได้แค่นี้ผมว่าดีแล้ว แต่ผมและทีมงานถูกสอนมาอีกแบบหนึ่ง เราถูกสอนมาให้มองทุกอย่างในลักษณะวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เราประยุกต์ศาสตร์ทันสมัยกับความรู้ของบรรพชนไทยได้ เราก็ต้องนำความรู้ที่สังเคราะห์ได้ไปยกระดับคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่ดั้งเดิมให้สูงขึ้น

 

มุมมองต่อวงการสมุนไพรไทย


นอกจากทีมผมแล้ว ยังมีหลายคนคิดที่จะทำวิจัยทางด้านเคมีในพืชพันธุ์บางชนิดอย่างละเอียดถี่ถ้วน ผมเห็นความพยายามของเขา แต่เขาไม่มีทีม หรือที่รวมทีมทำงานกันอยู่เท่าที่รับรู้มา ยังไปได้ไม่ถึงไหน น่าแปลกไม่รู้เป็นเพราะอะไร ฟังมาว่า บางกลุ่มมีเรื่องระหองระแหงระหว่างกันอย่างน่ากลัว

ทีมต่างๆ เหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลของรัฐ องค์กรชาวบ้านหรือหน่วยงานใดๆ ก็ตาม ผมสัมพันธ์กับคนเหล่านั้นน้อยมาก แทบไม่เคยติดต่อประสานงาน หรือทำงานร่วมกันเลย ส่วนหนึ่งอาจเป็นความผิดของผมที่ไม่เคยพยายามนำความรู้ไปใส่ให้เขา ขณะเดียวกัน เราคิดว่า ต่างคนต่างทำหน้าที่ เขาก็สร้างประโยชน์ เราก็สร้างประโยชน์ ต่างคนต่างทำไป สักวันหนึ่งถ้าเขาเห็นสิ่งที่เราทำเป็นเรื่องดี เขาคงมาเรียนรู้จากเราเอง ธรรมชาติมนุษย์มันเป็นอย่างนี้ และพัฒนาออกมาลักษณะนี้

ถ้าจะยกระดับผลิตภัณฑ์ธรรมชาติบ้านเราให้มีคุณค่า สามารถขายออกไปต่างประเทศ จะต้องมีวิทยาศาสตร์สากลใส่เข้าไปด้วย ไม่ใช่แค่พื้นความรู้ชาวบ้าน ถ้าใช้เพียงพื้นความรู้ชาวบ้าน เราจะได้แต่ตำรายาแผนโบราณ ผลิตได้แต่ยาแผนโบราณ ขายได้แต่ในเมืองไทย หากต้องการส่งออกต่างประเทศในระดับสากล เราต้องคิดแบบสากล

ข้อจำกัดของงานทางสมุนไพรที่โรงพยาบาลของรัฐหลายๆ แห่งทำอยู่นั้น แม้จะสามารถส่งขายต่างประเทศได้ แต่ทำได้ไม่มาก ผมเคยไปออกร้านที่ต่างประเทศ เขาบอก สิ่งที่เราทำนั้น โอเค เขารับได้ เขาเข้าใจได้แต่ที่ผ่านมาเคยมีบูธจากเมืองไทยแสดงสินค้าที่ไม่มีวิทยาศาสตร์รองรับ ไม่น่าเชื่อถือ นั่นเป็นคำพูดของเขานะ

ผมไม่ได้ดูแคลนคนอื่น แต่เราเข้าใจว่าทำไมเขาทำแบบนั้น เพราะชาวบ้านมีองค์ความรู้แค่นี้ อย่างรู้ว่าขมิ้นชันดีกับกระเพาะอาหาร ก็เอาบดใส่แคปซูล กินเข้าไปเป็นอันจบเรื่อง แต่ของเราไม่ใช่แค่นี้ ถ้าพวกเราทำเราจะศึกษาว่าขมิ้นชันมีสารอะไรอยู่ แล้วเราจะสกัดสารตัวนั้นออกมาทำให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น กำหนดขนาดการใช้ได้ชัดเจน แล้วใช้ผสมกับสารสกัดจากพืชอื่นเพื่อให้เกิดการเสริมประสิทธิภาพกันตามหลักคิดทางวิทยาศาสตร์พร้อมๆ กับการลดผลไม่พึงประสงค์ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากการใช้สารใดสารหนึ่งในปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง

 

ร่วมงานกับภาครัฐ


เคยมีคนบอกว่า ถ้าผมร่วมทำงานกับ สวทช. (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) ผมจะมีเงินเข้ามาอีกมาก จะมีเงินลงทุนได้ปีหนึ่งๆ  เป็นร้อยล้านบาท ผมถามกลับว่า จะลงทุนกนแบบไหน เพราะจริงๆ แล้วตอนนี้บริษัทของเราไม่ต้องการเงินเป็นหลัก แต่เราต้องการการรับประกันคุณภาพองค์กรของเรา

การมีภาครัฐเข้ามาร่วม ผมเห็นด้วยว่า จะทำงานอุตสาหกรรมได้ใหญ่ขึ้น อย่างเช่นถ้าผมจะแถลงข่าวแล้วมีกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มาร่วมแถลง ความน่าเชื่อถือย่อมมีมากขึ้น เงินทองในการใช้แถลงข่าวผมก็ไม่ต้องควักกระเป๋า เช่นเดียวกัน เรื่องที่ผมบงทุนเกี่ยวกับมังคุด ถามว่าผมทำได้ไหม คำตอบคือทำได้ แต่มันไม่เต็มที่ เราทำได้จุดหนึ่งเท่านั้น อย่างเช่นปีนี้ผมช่วยชาวสวนมังคุดภาคตะวันออกได้ ทำให้ราคามังคุดไม่ตก แต่เมื่อผมหยุดช่วย มังคุดภาคใต้มาตีตลาด ราคาก็ตกอีก

ทำอย่างไรเราถึงจะช่วยชาวสวนมังคุดให้ได้ตลอดไป?

ผมบอกไปว่า เงินทองเราไม่ต้องการ แต่เราอยากจะเห็นมาตรการที่มั่นคงยั่งยืนเกิดขึ้นจริง ผมต้องการความร่วมมือจากเขา เพื่อสร้างความเชื่อมั่นทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ที่ผ่านมาผมร่วมงานกับ สวก. เพื่อให้ได้เครดิต เพื่อไปคุยกับชาวสวนให้เขาเชื่อถือเรา แต่ตอนนี้ผมต้องการทำผลงานทางวิทยาศาสตร์ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ ผมต้องการให้เครดิตกับนักวิทยาศาสตร์

 

"จากห้องปฏิบัติการสู่ตลาดโลก"


ผมพยายามอย่างยิ่งที่จะรวมองค์กรของรัฐเข้ามา โดยปกติเวลาไปบรรยายที่ไหน เราจะเชิญเลขาธิการ อย.มาฟัง และเราก็พูดให้เห็นความสำคัญของการนำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ออกมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ให้มนุษย์ใช้งานได้ ผมยืนยันสิ่งนี้เสมอ จนในที่สุดเริ่มมีหน่วยงานของรัฐ อย่างเช่นสถาบันสาธารสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เชิญเราไปบรรยายเกี่ยวกับเรื่องการทำวิจัยจากห้องปฏิบัติการสู่ตลาดโลก สถาบันนี้เขาทำงานร่วมกับแพทย์แผนไทย แต่เดิมเมื่อ 2-3 ปีที่แล้วสถาบันแพทย์แผนไทยยังไม่ค่อยเชื่อถือเราเท่าไหร่ แต่ตอนนี้เขามีความเชื่อมั่นมากขึ้น ให้เราไปบรรยาย ขณะนี้คล้ายๆ จะยอมรับเรามากขึ้น

นอกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้ว ยังมีมหาวิทยาลัยมหิดลที่ทุกคนรู้จักว่าเป็นสถาบันที่มีศักยภาพสูง มีความน่าเชื่อถือสูงทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทางคณะวิทยาศาสตร์ของมหิดล ก็เชิญผมไปบรรยายเรื่องเดียวกันสาระสำคัญเดียวกันคือ "จากห้องปฏิบัติการสู่ตลาดโลก" มหิดลอยากรู้ว่าเราคิดอย่างไร เราทำอย่างไร ถึงสามารถผลักดันงานวิจัยเข้าไปสู่ท้องตลาดได้อย่างที่เราทำอยู่ เพราะปัจจุบันนี้มีการส่งเสริมกันมากในมหาวิทยาลัย เขาส่งเสริมกันมาหลายปีเหลือเกิน ใช้เงินไปก็มาก แต่ผลยังไม่เคยเกิดได้จริง

การวิจัยตามสถาบันการศึกษาที่ผ่านมา มักมีลักษณะต่างคนต่างทำ จบงานวิจัยหนึ่งก็ไปเริ่มงานวิจัยใหม่ๆ เริ่มประเด็นใหม่ๆ ไม่เคยทำอะไรต่อเนื่องยาวนาน ผมไปเล่าให้เขาฟังว่าสิ่งที่ทำกันอยู่ทั่วไปนั้น เราคิดตามวิธีที่เรียนกันมา แล้ววิธีที่เรียนมา ก็เรียนมาจากต่างประเทศอย่างที่คนจบปริญญาเอกทั่วไปได้เรียนกัน ไม่มีใครเคยคิดนอกกรอบ มัวคิดแต่ว่าจะต้องทำออกมาให้เป็นยา ถ้าคิดแต่จะทำเป็นยา นั่นคือการคิดในกรอบ คิดอย่างที่เคยถูอบรมสั่งสอนมา ซึ่งจะทำไม่ได้ เพราะการผลิตยาจะต้องใช้เงินเป็นพันล้าน มันยากเกินไป จะไปหาเงินที่ไหน กว่าจะได้ทำได้มันต้องใช้เวลานานมาก ซึ่งเราคงไม่มีชีวิตยืนยาวถึงขนาดนั้น ผมเลยคิดนอกกรอบไปเลยการคิดนอกกรอบนี้เกิดขึ้นจากการที่ผมเลิกคิดทำยา แต่หันไปทำผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทำให้พบช่องทางว่าน่าจะทำตรงนี้ได้ อันนี้เป็นส่วนแรก

ส่วนที่สองนั้น ผมอธิบายให้ฟังว่า หากผมยังคิดในกรอบ ผมคงจะพยายามค้นหาสารจากพืชซึ่งสามารถฆ่าเซลล์มะเร็งในร่างกายได้ ผมเคยทำมาแล้วถึงสิบกว่าปี ถ้ายังทำอยู่ตรงนั้น ป่านนี้คงจะยังทำแต่กับเรื่องเดิมๆ ไม่เลิก

ส่วนที่สามคือ โอกาสที่สารต่างๆ จะฆ่าเซลล์มะเร็งในห้องแล็บมีอยู่มาก แต่เมื่อสารนั้นเข้าสู่ร่างกายแล้ว มันฆ่าเซลล์มะเร็งในร่างกายได้จริงหรือเปล่า ทำได้แค่ไหน ได้เท่าที่ทดสอบในห้องแล็บด้ายไหม หรือว่าโอกาสมีเพียงหนึ่งในล้าน เพราะฉะนั้นจะบอกว่าแม้เพียงหนึ่งในล้าเราก็จะต้องทำเพราะเราเป็นนักวิทยาศาสตร์ จะตอบคำถามกันแบบนี้หรือ?

ดังนั้น เมื่อผมได้รู้ว่า GM1 สามารถที่จะไปปรับระดับภูมิคุ้มกันในร่างกาย ให้ร่างกายไปจัดการกับเซลล์มะเร็งได้ด้วยตัวเอง นี่เป็นอีกมุมมองหนึ่งแล้ว ไม่ต้องไปหาสารใดๆ มาฆ่าเซลล์มะเร็งโดยตรงแล้ว แต่เราใช้ GM1 เพิ่มภูมิต้านทานให้แข็งแรง ให้เราสามารถใช้เม็ดเลือดขาวให้เป็นประโยชน์ เพราะฉะนั้นทำไมเรายังจะต้องไปคิดถึงสารมที่จะเข้าไปจัดการกับมะเร็งโดยตรงล่ะ? ทำไมเราไม่สร้างเม็ดเลือดขาวซึ่งทีอยู่ 20,000-55,000 ล้านเม็ด ในร่างกายของเราให้แข็งแรง ให้ดูแลร่างกายของเราเอง เรารู้ว่าเม็ดเลือดขาวถูกสร้างมาให้ดูแลสุขภาพ ดังนั้นก็ทำให้มันตรงจุด นี่คือวิธีคิดนอกกรอบอย่างชัดเจน

ผมบอกในที่ประชุมว่า ผมโง่มา 29 ปีกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ และผมก็เชื่อว่าหลายๆ คนคงจะยังทำอย่างที่ผมเคยทำมา ผมอยากบอกว่า ผมหยุดโง่แล้วครับ ไม่รู้นะ ใครอยากทำต่อก็ทำไป ทำกันไปอย่างที่ตัวเองเชื่อเถอะ แต่สำหรับผม วิธีมองแบบเดิมๆ มันเสียเวลาของชีวิต....มากเกินไปแล้ว 



หน้า 1/1
1
[Go to top]



Copyright © 2014 All Rights Reserved.



ติดต่อสอบถาม/ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
โทร. 088-919-1559 Line id : @bim555 (ใส่ @ ข้างหน้าด้วยค่ะ)